Image Visual 1993 กับอีกหนึ่งผลงานที่ได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นผู้ออกแบบงานปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในภายนอก งานระบบภาพเสียง และงานระบบควบคุมอัตโนมัติของอาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล พลิกฟื้นให้มีความทันสมัย ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีและการใช้งานในปัจจุบัน
MAHIDOL STADIUM เดิมเป็นอาคารอเนกประสงค์ เป็นอาคารหลังแรก ๆ ตั้งแต่มีการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ มีอายุมากกว่า 30 ปี เป็นอาคารที่รองรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และการเล่นกีฬาภายในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีความทรุดโทรม ทั้งงานสถาปัตยกรรมงและงานระบบภาพเสียงที่ล้าสมัย ทางมหาวิทยาลัยฯ ต้องการปรับปรุงแปลงโฉมใหม่ทั้งสถาปัตยกรรมภายใน ภายนอก งานระบบภาพและเสียง โดยงานปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในภายนอก (Exterior) ได้นำรูปแบบการออกแบบของมหิดลสิทธาคาร หอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัย มาเป็นแนวคิดในการออกแบบปรับปรุง มีการปรับเสริมภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัย สร้างบรรยากาศของสปอร์ตคอมเพล็กซ์ ส่วนสถาปัตยกรรมภายในได้มีการนำจุดเด่นของสถาปัตยกรรมภายนอกอาคารที่เอกลักษณ์นำมาเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบภายในอาคาร ส่วนงานปรับปรุงสนามกีฬาได้ให้ความสำคัญกับระบบไฟสี การตบแต่งภายในที่สร้างสีสันให้บรรยากาศแอคทีฟ กระฉับกระเฉง เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรม
ส่วนการปรับปรุงระบบภาพ มีการออกแบบติดตั้งจอภาพแอลอีดีขนาด 400 นิ้ว จำนวน 1 จอภาพ และขนาด 200 นิ้ว จำนวน 2 จอภาพ พร้อมกล้องถ่ายวีดีทัศน์ชนิด PTZ ที่สามารถซูมภาพได้ 40 เท่าสำหรับการจับภาพบนเวทีและภายในอาคาร
การปรับปรุงระบบเสียง ได้มีการออกแบบแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนสำหรับการแสดงหรือกิจกรรมบนเวที ได้เลือกใช้ลำโพงชนิด Digitally Steerable Line Array ที่สามารถกำหนดระยะและทิศทางของเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ส่งสัญญาณเสียงไปยังจุดที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ และระบบเสียงสำหรับการแข่งขันกีฬาหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในสนาม โดยเลือกใช้ Horn Speaker ชนิดที่มีระยะการส่งสัญญาณเสียงได้ไกล ครอบคลุมทุกจุดภายในยิมเนเซียม ระบบทั้งหมดรวมทั้งระบบไฟแสงสว่าง ระบบปรับปรบอากาศ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต เป็นระบบ Smart Stadium ที่ทันสมัยตอบโจทย์การใช้งานแบบ Multi-purpose ที่คุ้มค่ากับการลงทุนเป็นอย่างดี
ติดตั้ง พร้อมอบรมการใช้งานแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย
ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา